การสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการและกรรมการอิสระ โดยพิจารณาจากความหลากหลาย ทักษะ ประสบการณ์ ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงพิจารณารายชื่อจากการเสนอแนะโดยผู้ถือหุ้น กรรมการ และฐานข้อมูลของกรรมการของสมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย และเสนอให้กรรมการบริษัทบริษัทพิจารณาแต่งตั้ง หรือขออนุมัติแต่งตั้งต่อผู้ถือหุ้นตามข้อบังคับของบริษัท
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดำเนินการจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยพิจารณาสรรหาบุคคลที่เหมาะสมทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดยมีหลักในการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกองค์กร และอาจพิจารณาว่าจ้างที่ปรึกษาอิสระเพื่อเข้ามาช่วยในการสรรหาดังกล่าว
ในการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารนั้น จะพิจารณาจากบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยพิจารณาจากผู้ที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความเป็นผู้นำ ประสบการณ์ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้แก่ ประสบการณ์ในอุตสาหกรรม โทรคมนาคม ดิจิทัล ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และธุรกิจ ดิจิทัลคอนเทนต์ หรือในสาขาวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการองค์กร หรือ มีผลงานการบริหารจัดการองค์กรและมีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ ทั้งภาครัฐ หรือภาค เอกชน ในองค์กรสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่โดดเด่น สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเสนอชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป
นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งรองรับผู้บริหารในระดับถัดลงมาอีก 2 ระดับ ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารองค์กร โดยได้ระบุตัวบุคคลที่ จะทำหน้าที่แทน ในกรณีที่ยังไม่มีตัวบุคคลที่สามารถรองรับได้ทันที บริษัทได้จัดให้มีระบบพัฒนาบุคลากรในลำดับรองลงมาเพื่อเตรียมความพร้อม รวมทั้งสรรหาจากภายนอก ทั้งนี้ เพื่อรักษาความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนองค์กร ตลอดจนพนักงาน ว่าการดำเนินงาน ของบริษัทจะได้รับการสานต่ออย่างทันท่วงที บริษัทได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลให้กับผู้สืบทอดในทุกตำแหน่งและทุกระดับ เพื่อพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งให้ มีความพร้อมที่จะดำรงตำแหน่งแทน
ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดย่อยที่เกี่ยวข้องเป็นผู้นำเสนอแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับ สูงต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาเป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เป็นผู้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนที่จำเป็นและเหมาะสมทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน ให้แก่ กรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมถึงผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่รายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหาร
ปรัชญาในการจ่ายค่าตอบแทนของบริษัท มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนผลงานที่ผู้บริหารได้สร้างให้กับบริษัทและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนได้ทำการทบทวนและอนุมัตินโยบายค่าตอบแทนผู้บริหารเป็นประจำทุกปี โดยการกำหนดระบบบริหารค่าตอบแทนจะพิจารณาถึงด้านต่าง ๆ ดังนี้
การบริหารค่าตอบแทน โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน
- ค่าตอบแทนของผู้บริหาร จะแปรผันตรงกับการบรรลุผลสำเร็จของเป้าหมายตามกลยุทธ์ของบริษัทและพนักงานรายบุคคล
- ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานประกอบด้วย ผลตอบแทนทางการเงิน ด้านกลยุทธ์และด้านปฏิบัติงานทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยได้มีการกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้า
การบริหารค่าตอบแทน ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ถือหุ้น
- องค์ประกอบของค่าตอบแทนได้กำหนดไว้เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความคาดหวังที่จะสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว
- มีการเรียกคืนหรือยกเลิกการจ่ายค่าตอบแทนในกรณีที่มีการกระทำผิดทางวินัย การลาออกหรือการเลิกจ้าง
การบริหารค่าตอบแทน ให้สามารถแข่งขันได้
- การบริหารค่าตอบแทนให้สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทสามารถที่จะดึงดูดและรักษาพนักงานที่ดีมีฝีมือ และพนักงาน ในตำแหน่งงานที่มีความสำคัญให้มาทำงานและอยู่สร้างผลงานให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง
การบริหารค่าตอบแทน เพื่อความสมดุลในระยะสั้นและระยะยาว
โครงสร้างค่าตอบแทนที่สร้างความสมดุลของความสำเร็จทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ยอมรับได้
โครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร
โครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงมีความสมดุลกันระหว่างค่าตอบแทนและผลประโยชน์แบบคงที่กับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งสัดส่วนของค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานจะมากขึ้นตามระดับตำแหน่งงานเพื่อผลักดันให้ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์และผลการปฏิบัติงานในภาพรวม เชื่อมโยงกับผลสำเร็จของการสร้างมูลค่าให้แก้ผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยพิจารณาจาก ผลประกอบการระยะยาว กำไรสุทธิ และมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของบริษัท
องค์ประกอบของค่าตอบแทน | รูปแบบของค่าตอบแทน | รูปแบบการจ่าย | วัตถุประสงค์ | จ่ายให้กับ | เชื่อมโยงกับหลักการจ่ายค่าตอบแทน | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | ผู้บริหารระดับสูง | ผู้บริหารอื่น | |||||
ค่าตอบแทนและผลประโยชน์แบบคงที่ |
เงินเดือน
|
เงินสด
|
|
•
|
•
|
•
|
|
ผลประโยชน์
|
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันสุขภาพ และอื่น ๆ
|
|
•
|
•
|
•
|
|
|
ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน |
ค่าตอบแทนระยะสั้น: โบนัสตามผลงาน
|
เงินสด
|
|
•
|
•
|
•
|
|
ค่าตอบแทนระยะยาว: Value-Sharing Compensation
|
เงินสด
|
|
•
|
•
|
•
|
|
กรอบแนวทางการวัดผลการปฏิบัติงาน
บริษัทมีการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเป็นแนวทางให้กับผู้บริหารและพนักงานในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ซึ่งได้แก่ ตัวชี้วัดด้านการเงิน ด้านกลยุทธ์และด้านการดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละปี จะสอดคล้องกับทิศทางธุรกิจของบริษัท ในขณะที่ตัวชี้ผลการดำเนินงานระดับองค์กร (Corporate KPI) ถือเป็นส่วนหนึ่งในการวัดผลการปฏิบัติงานรายบุคคลเพื่อสร้างความร่วมมือกันตามวัฒนธรรมองค์กร โดยสัดส่วนของตัวชี้้ผลการดำเนินระดับองค์กรจะสูงขึ้นตามตำแหน่งงาน
โดยในปี 2567 บริษัทกำหนดให้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการเงินมีน้ำหนักสูงสุด เพื่อมุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นผ่านการเติบโตของรายได้และกำไร มีการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและบริหารความแข็งแกร่งด้านกระแสเงินสด และโครงสร้างการเงินที่่เหมาะสม ในขณะที่่ตัวชี้วัดด้านกลยุทธ์และการดำเนินงาน มุ่งเน้นในการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน ความเป็นผู้นำในตลาด สร้างการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงและธุรกิจกลุ่มลูกค้าองค์กร สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และเตรียมความพร้อมของกระบวนการดำเนินงานและศักยภาพของบุคลากรให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วสู่ธุรกิจดิจิทัล
สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่่บริหาร คณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้ประเมินและกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานประจำปีและเป้าหมายระยะยาว ซึ่งผลของการประเมินจะถูกนำมาใช้ประกอบการพิจารณาค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ค่าตอบแทนระยะยาวในรูปแบบเงินสด
ค่าตอบแทนระยะยาวของบริษัทกำหนดขึ้นเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดผลงานที่เป็นรากฐานของบริษัท ส่งเสริมให้ผู้บริหารสร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนให้กับบริษัท สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น โดยยึดหลักผลประกอบการระยะยาว กำไรสุทธิ และมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของบริษัท ซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างผู้บริหารและผู้ถือหุ้น ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินพิเศษนี้จะถูกจ่าย ออกเป็นเงินสด อย่างไรก็ตามเงินพิเศษนี้เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงาน และพิจารณาจากผลการดำเนินงานในกรอบเวลา 3 ปี ภายใต้เงื่อนไขการว่าจ้าง ณ ช่วงเวลาที่จ่ายผลตอบแทน ซึ่งอาจมีมูลค่ามากขึ้นหรือลดลงหากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในกรอบเวลานั้น ๆ