การสนับสนุนการกำหนดนโยบายภาครัฐ

นอกเหนือจากการให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพสำหรับทุกคนแล้ว เอไอเอสยังมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนสังคมไทยให้ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ส่งเสริมการเข้าถึงดิจิทัล และจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายภาครัฐในเรื่องการกำหนดสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม ดังนั้นการมีส่วนร่วมระหว่างเอไอเอสกับหน่วยงานกำกับดูแล สมาคมการค้า และองค์กรต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ล้วนมีเป้าหมายเชิงบวกเพื่อพัฒนานโยบายที่สนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ เนื่องจากเรามุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน ทิศทางการมีส่วนร่วมต่อนโยบายภาครัฐและกลยุทธ์ของบริษัทจึงสอดคล้องกับเป้าหมายและหลักการที่ระบุไว้ในข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นกรอบสำคัญในระดับสากลเพื่อปรับตัวและลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เอไอเอสมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานทางจริยธรรมของเรา กรอบการทำงานต่อการสนับสนุนการกำหนดนโยบายภาครัฐนี้ใช้บังคับกับการดำเนินธุรกิจของเอไอเอสและบริษัทย่อยทุกแห่ง โดยสามารถดูรายละเอียดของนโยบายและขั้นตอนเกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเมือง การสนับสนุนเพื่อการกุศล ได้ที่นโยบายต่อต้านการติดสินบนและการทุจริตของเรา https://investor-th.ais.co.th/misc/cg/20190213-advanc-anti-bribery-corruption-th.pdf

กลยุทธ์ของเรา

การสนับสนุนการกำหนดนโยบายภาครัฐของเราส่วนใหญ่เป็นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแล สมาคมการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ระหว่างบริษัทและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และหน่วยงานกำกับดูแลและออกนโยบาย โดยเรายึดแนวทางดังต่อไปนี้

  1. ความโปร่งใส
    แสดงจุดยืนของเราโดยการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลและสมาคมการค้าอย่างมืออาชีพ และเสนอมุมมองอย่างเปิดเผยผ่านช่องทางที่จัดเตรียมไว้ เช่น การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ กลุ่มสนทนา และการสัมมนา
  2. ความเป็นมืออาชีพ
    สนับสนุนแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการเจรจาที่สร้างสรรค์ในกระบวนการกำหนดนโยบายภาครัฐ
  3. ความครอบคลุมและความยั่งยืน
    เราให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันของเพื่อนร่วมงานและผู้มีส่วนได้เสียพร้อมมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ระยะยาวต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม ดังนั้นเราจึงมองหามุมมองเพิ่มเติมจากบริษัท องค์กรต่าง ๆ และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างประโยชน์จากจากมุมมองที่แตกต่างกันและแสดงจุดยืนของเราให้ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายภาครัฐที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ประเด็นสำคัญของการมีส่วนร่วมในนโยบายภาครัฐ

1. หน่วยงานกำกับดูแล

  • • กำกับดูแลในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กนช.)
  • • หน่วยงานอื่นสำหรับธุรกิจใหม่ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

2. สมาคมการค้าและสมาคมในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา

  ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
หน่วยงานระดับชาติ
  • • สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (TCT)
  • • สภาองค์กรของผู้บริโภค (TCC)
  • • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI)
  • • องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)
หน่วยงานระหว่างประเทศที่สำคัญ
  • • สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
  • • GSMA Association
  • • Climate Action Taskforce under GSMA Association

แนวทางการบริหารจัดการ

เราตระหนักถึงความสำคัญของกรอบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมในนโยบายภาครัฐ เอไอเอสจึงได้กำหนดกระบวนการและบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจนของผู้บริหารและทีมงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานจริยธรรมการทำงาน

เอไอเอสมีฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ซึ่งทำหน้าที่กำหนดกลยุทธ์และแผนงาน รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมต่อนโยบายภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ และนโยบายขององค์กร ฝ่ายงานนี้ยังทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่านโยบายภาครัฐและกลยุทธ์องค์กรของเรามีความสอดคล้องกัน ตลอดจนแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดความไม่สอดคล้องกัน

ในแง่ของการกำกับดูแล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายบริหารมีบทบาทในการดูแลและทบทวนท่าทีและจุดยืนของการทำงานและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเรา ตลอดจนประเมินประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมตามนโยบายของเราเพื่อประเมินผลกระทบ และระบุประเด็นที่ต้องปรับปรุง ฝ่ายบริหารยังมีบทบาทในการให้คำแนะนำและสนับสนุนทีมงานในการดำเนินงานอีกด้วย

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีบทบาทในการประเมินและติดตามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของเรา ซึ่งรวมถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ความท้าทายด้านกฎระเบียบ และการพิจารณาถึงชื่อเสียง รวมทั้งกำกับดูแลเพื่อให้แน่ใจว่าการมีส่วนร่วมของเราดำเนินการอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ มีประสิทธิภาพ และรักษามุมมองที่สมดุลอย่างเหมาะสมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ


การสนับสนุนการกำหนดนโยบายภาครัฐ

ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนองค์กรภายนอกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันนโยบายในด้านต่างๆ

  สกุลเงิน 2562 2563 2564 2565
การล็อบบี้หรือการโน้มน้าวให้สนับสนุน
บาท
0
0
0
0
การสนับสนุนพรรคการเมือง
บาท
0
0
0
0
สมาคมทางการค้าหรือองค์กรที่ได้รับการยกเว้นภาษี
บาท
4,331,964
4,054,728
4,176,520
4,442,937
อื่น ๆ
บาท
0
0
0
0
รวม
บาท
4,331,964
4,054,728
4,176,520
4,442,937
ความครอบคลุมของข้อมูล (เป็น % ของตัวหาร ระบุขอบเขตองค์กรของข้อมูลที่รายงาน)
%
100
100
100
100


องค์กร ที่เอไอเอสให้การสนับสนุน

ชื่อองค์กร ประเภท วัตถุประสงค์หลักขององค์กร สถานะการเข้าร่วม จำนวนเงินสนับสนุน (บาท)
1. GSM MOU Association
สมาคมทางการค้า
เพื่อร่วมวางแนวทางสำหรับอนาคตของอุตสาหกรรม และสร้างโอกาสการเติบโตในธุรกิจ
ทำงานร่วมกับสมาชิกเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
เพื่อสนับสนุนและศึกษาบทบาทของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการพัฒนาเครือข่ายในอนาคต, 5G, Cloud, การจัดการข้อมูลประจำตัวดิจิทัล และการนำ IoT มาใช้ประโยชน์
เข้าร่วม Climate Taskforce เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรับแลกเปลี่ยนความรู้กับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อมุ่งสู่การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์
3,342,473
2. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
สมาคมทางการค้า
เพื่อกำหนดนโยบาย ICT ในอนาคตและสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบ มาตรฐานระดับโลก และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อช่วยกระจายการเข้าถึงบริการ ICT
เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจเกี่ยวกับนวัตกรรม ICT, 5G, Big Data, Cloud, Multimedia, Content & APPs และ IoT
292,864
3. สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมทางการค้า
เพื่อร่วมพัฒนาบุคคลากรและพัฒนาเทคโนโลยี
เพื่อสนับสนุนและศึกษาอุตสาหกรรมแนวโน้มโทรคมนาคม เพื่อเข้าใจการพัฒนาของอุตสาหกรรมในอนาคต
306,800
4. องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สมาคมทางการค้า
ส่งเสริมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมในภาคธุรกิจ ภายใต้แนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน
ร่วมมือกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันในประเทศไทยเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการผลักดันแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนของธุรกิจ รวมถึงสร้างศักยภาพในวาระที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
250,000